วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 8 วันศุกร์ที่ 06 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

เนื้อหาที่เรียน

     -รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
     -นำเสนอการสอนแบบโครงการ
               
การสอนแบบโครงการ
การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้
จุดมุ่งหมายในการสอนแบบโครงการ
         1.พัฒนาความคิดและให้เด็กลงมือปฎิบัติ
          2. พัฒนากระบวนการเรียนรู้
          3. สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
          4. เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง
ลักษณะของโครงการ
  • ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
  • ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
  • ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐาน






ประโยชน์
  • ด็กจะเห็นคุณค่าของตนเอง เป็นแนวทางให้เด็กพึ่งพาตนเองได้
  • ส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ทักษะที่มีอยู่
  • เด็กเกิดแรงจูงใจภายในและความสามารถที่เกิดจากตัวเด็กเองในงานและกิจกรรมที่ทำ
  • เด็กรู้จักตัดสินใจว่าควรทำอะไร และผู้ใหญ่ยอมรับในความต้องการของเด็ก
  • เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างมีความสุข สนุกสนานเพราะเด็กได้เรียนในสิ่งที่ตนเองสนใจ รู้จัก
  • ประยุกต์ใช้ความรู้









การจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
การใช้สมองเป็นฐานเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ 
                    หลักการสำคัญ
  1. -Uniqueness สมองของแต่ละคนมีความเฉพาะของตน
  2. -ภาวะเครียด และอันตรายต่างๆ จะมีผลหยุดยั้ง สกัดกั้น การเรียนรู้ รวมไปถึงการทำลายเซลสมองด้วย
  3. -อารมณ์ความรู้สึกมีความสำคัญมากต่อการเรียนรู้ เพราะมันมีอิทธิพลในการสร้างแรงจูงใจ สมาธิ สุขภาพ การเรียนรู้ การตีความและการทำความเข้าใจ และ ความทรงจำ
  4. -ข้อมูลถูกเก็บและนำออกมาใช้ โดยกระบวนการความทรงจำหลายๆแบบ และความเชื่อมโยงของระบบประสาทหลายระบบในสมอง
  5. -การเรียนรู้ทุกชนิดอยู่บนพื้นฐานของ “จิตใจ-ร่างกาย” การเคลื่อนไหว อาหาร วงจรความสนใจ/สติ/สมาธิ ยาและสารเคมี ล้วนมีผลสำคัญต่อการกระตุ้นหรือขัดขวางการเรียนรู้
  6. -สมองเป็นอวัยวะที่ซับซ้อนและปรับตัวตลอดเวลา การจะเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ต้องการระบบที่ซับซ้อน
  7. -รูปแบบและโครงสร้างต่างๆจะกระตุ้นและจัดระบบความเข้าใจของเรา – ความฉลาดคือความสามารถในการรับรู้ เก็บ จัดระบบ และสร้างข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ประโยชน์
  8. -Brain is meaning driven “ความหมาย” กระตุ้นความสนใจของสมองมากกว่า เนื้อหาของข้อมูลหรือข่าวสาร
  9. การนำไปใช้
  10. ควรให้ความสนใจต่อตัวเด็กเป็นรายบุคคลในระหว่างที่เด็กเล่นรวมกันเป็นกลุ่ม จะกระตุ้นให้เด็กรื้อฟื้นความทรงจำในอดีต เข้ามาเชื่อมโยงกับสิ่งที่พบเห็นในปัจจุบัน ช่วยกระตุ้นการเชื่อมโยงของสมองที่จะเรียนรู้จากความทรงจำเดิม ทบเข้ากับความทรงจำใหม่


  11. การจัดประสบการณ์ แบบSTEM
    STEM Education มีเช่น การสังเกต สา รวจ สืบคน้ คาดคะเน วเิคราะห์สังเคราะห์ ประเมินค่า ต้งัสมมติฐาน พยากรณ์ทดลองแกป้ ัญหาและประดิษฐ์เป็นตน้ ท้งัน้ีเราจะเห็นวา่ โรงเรียนอนุบาล ที่จัดการเรียนรู้ให้เด็กแบบเตรียมความพร้อม ผา่ นการเล่น กิจกรรม และศิลปะน้นั ไดจ้ดัใหเ้ด็กมีประสบการณ์ และเสริมสร้างทักษะของ STEM อยแู่ ลว้ เช่น กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้วทิยาศาสตอ์ าจจะเป็นกิจกรรมที่เด็ก สา รวจธรรมชาติรอบตวัท้งัสิ่งมีชีวติและไม่มีชีวติ กิจกรรมดา้นส่งเสริมการเรียนรู้
    การจัดประสบการณ์ แบบมอนเตสเชอรี่

    การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ เป็นการนำวิธีการสอนเด็กที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาล่าช้าที่ประสบความสำเร็จมาใช้กับเด็กปฐมวัย โดยให้เด็กจับต้องสื่อหรือเล่นอุปกรณ์ต่างๆ ที่เลือกเอง ทำให้เด็กเรียนรู้อย่างมีสมาธิและสร้างสรรค์ เด็กสามารถประสมคำ อ่านคำและฝึกเขียนหนังสือได้ด้วยตนเองตามความสนใจตั้งแต่อายุ 4-5 ปี
      นำเสนอบทความ









    เลขที่ 20  เรื่อง คณิตศาสตร์ฐมวัย เรียนอย่างไรให้สนุก + เข้าใจ
                   



            เพลง บวก - ลบ                                          
                                       บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ              ครูให้อีกใบนะเธอ
                                  มารวมกันนับดีดีซิเออ                 ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
                                  บ้านฉันมีแก้วน้ำใจใบ                 หายไปสามใบนะเธอ
                                  ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ                 ดูซิเออเหลือเพียงสี่ใบ

เพลง เท่ากัน - ไม่เท่ากัน                                  
                                                   ช้างมีสี่ขา               ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา               สองขา ต่างกัน
                                                   ช้างม้า มี                สี่ขา เท่ากับ (ซ้ำ)
                                              แต่กับคนนั้น                ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)

เพลง ขวดห้าใบ                                        
                                                   ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
                                                  เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
                                      คงเหนื่อยขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดลงเหลือสี่
                              (ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
                                 ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง จะทำอย่างไรกันดี


เพลง จับปู                                                
                                       หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า         จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
                                       หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า         ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
                                       ฉันกลัวฉันกลัวฉันกลัว       ปูมันหนีบฉันที่หัวแม่มือ  

กิจกรรมในห้องเรียน
ตารางจากนางสาวรัตนาภรณ์ คงกะพันธ์
วิธีการสอน

       อาจารย์มีการใช้คำถาม ให้ข้อเสนอแนะ อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา และใช้สื่อ power point ในการบรรยาย ทบทวนความรู้เดิม


ประเมิน

สภาพห้องเรียน
เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา อากาศภาพในห้องถ่ายเท

ตนเอง
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

เพื่อน
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา มีความสนใจและตั้งใจฟังเพื่อนกลุ่มอื่นนำเสนอ มีการแสดงความคิดเห็น และให้ความร่วมมือ

อาจารย์
อาจารย์บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายเรียบร้อย  พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น