วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์

เรื่อง สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน

                       อาจารย์ธิดารัตน์ อธิปัญจพงษ์ (มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา) 

สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทานด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กระดับปฐมวัย จำเป็นที่ครูปฐมวัยพันธุ์ใหม่จะต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวนและการท่องจำ อ.ธิดารัตน์จึงมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมไปสอนและปลูกฝังความรักคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ๆ โดยเฉพาะการใช้ “นิทาน” เป็นสื่อช่วยสอน เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนเด็ก ๆ จะทำให้เขารู้สึกสนุกและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป




                                                                           
บันทึกครั้งที่ 3 วันศุกร์ที่ 23 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

                                                    เนื้อหาที่เรียน

- ทำแบบทดสอบก่อนเรียน 5ข้อ เรื่อง แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญา
- อาจารย์ให้นักศึกษาท่องคำคล้องจอง  เช่น

                           คำคล้องจอง หน้า - กลาง - หลัง
                       เรือใบ    สีแดงดงแล่นแซง     ขึันหน้า
                       เรือใบ    สีฟ้า       ตามมา        อยู่กลาง
                       เรือใบ    ลำไหน   แล่นอยู่       ข้างหน้า
                       สีขาวขาช้าจัง      อยู่หลัง       สุดเลย

                                
                                 คำคล้องจอง ใหญ่ - เล็ก
                    มาลี          เดินมา       เห็นหมา      ตัวใหญ่
                    มาลี          ร้องไห้       ตกใจ           กลัวหมา
                    เห็นแมว   ตัวน้อย       ค่อยค่อย      ก้าวมา
                    แมวเล็ก    กว่าหมา    มาลี             ไม่กลัว
      

การจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้จากคำคล้องจองจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

 ทักษะ
  แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญา
      
   ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการ
        พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องเปรียบเทียบกับขั้นบันได
    
ประโยชน์ของพัฒนาการ คือ =>รู้จักเด็กมากขึ้น
                                          =>ตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
                                          =>จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการ
      ความหมายและประโยช์ของการเรียนรู้ 
การเรียนรู้ หมายถึงการได้รับความรู้มาแล้ว เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 


ประโยชน์ของการเรียนรู้ คือ จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้อย่างเหมาะสม   

     พัฒนาการทางสติปัญญาตามแนวความคิด    
เพียตเจต์
บรูเนอร์
ไวต์สก็อตกี้
อาจารย์ให้อ่านเพิ่มเติม

                                                   วิธีการสอน

      อาจารย์ให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อประเมินความเข้าใจก่อนที่จะเรียนหลักการทฤษฏี มีการใช้คำถามแบบเปิดเพื่อให้ตอบได้หลากหลาย มีการยกตัวอย่างสิ่งที่ใกล้ตัวเพื่อจะได้มองเห็นภาพ



                                                 การประยุกช์ใช้

สามารถนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนของเด็กให้เด็กมีพัฒนาการได้อย่างเหมาะสม



ประเมิน


                                                                       


สภาพห้องเรียน

เก้าอี้เรียงชิดกันมากเกินไป  อากาศเย็นสบาย เทคโนโลยีไม่คอยมีความพร้อม

ตนเอง

จดบันทึกที่อาจารย์สอนและสรป เข้าเรียนตรงเวลา ตอบคำถามครู

เพื่อน
ให้ความร่วมมือ ตอบคำถามอาจารย์ มีความสนใจตรงต่อเวลาในการเข้าเรียน

อาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา พูดเสียงดังฟังชัด แต่งกายสุภาพ อาจารย์ให้ความสนุกสนานเป็นกันเอง  สอนและยกตัวอย่างให้เข้าใจมองเห็นภาพ












สรุปวิจัย
เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ผู้เขียน นางประกายดาว ใจคําปน

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ที่ผูเรียนมีบทบาทหลักเพื่อสรางความเขาใจเชิงมโนทัศนทางคณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัยโดยศึกษาจากกลุมเปาหมายซึ่ง เปนนักเรียนในระดับชั้นอนุบาล โดยใชัแผนการจัดประสบการณสําหรับเด็กปฐมวัยการจัดประสบการณในแตละหน่วยการเรียนรู เครื่องมือที่ใชในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบความเขาใจเชิงมโนทัศนทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  การจัดประเภทหรือการจดหมวดหมู่การจัดลําดับ การเปรียบเทียบ จํานวนและกา     รนับจํานวน เวลา สถิติที่ใชในการวิเคราะหขอมูลไดแกคาเฉลี่ยและ สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบวา หลังจากที่จดการเรียนรู้ผู้เรียนมีบทบาทหลักและทํากิจกรรมหรือ แบบฝกหัดที่สอดคลองกับแผนการจัดประสบการณทั้ง 8 กิจกรรม นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑดีรวมทั้งการทำแบบทดสอบความเขาใจเชิงมโนทัศนทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยเมื่อ เปรียบเทียบแลว พบวานักเรียนคะแนนในเรื่องจํานวนและการนับจํานวนอยูในระดับดีสวนความ เขาใจเชิงมโนทัศนในเรื่องการจัดประเภทหรือการจัดหมวดหมู การจัดลำดับ การเปรียบเทียบ และเรื่องเวลาอยูในระดับดี





วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 16 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

องค์ความรู้

=> เล่นเกม ตัวเลขแสนรัก (ตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา) เช่น เลข 33 คืออายุของพี่ชาย
=> อาจารย์แนะนำเทคนิคการนำเสนอหน้าชั้นเรียน คือ 
          แนะนำตัว >> ชื่อบทความ >> แหล่งที่มา >> สรุปบทความ
=> ฟังการนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียนของเพื่อนเลขที่ 1 - 3
          เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง คณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัย
                      สรุปบทความ การสอนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีลงมือปฏิบัติจริงเป็นการกระตุ้มสมองทำให้เกิดความคิดใหม่ การสร้างบรรยากาศไม่เคร่งเครียดสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันโดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิมทำให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด
          เลขที่ 2 นำเสนอบทความเรื่อง การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กวัยซน
                      สรุปบทความ เด็กสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา คณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน การมีปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวและคนรอบข้างเป็นตัวกระตุ้นให้สมองเกิดการเรียนรู้


ทักษะ
        
ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์

        คณิตศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการคำนวณ การคิดเลข เป็นวิชาที่มีความสำคัญและจำเป็นกับทุกๆอาชีพ เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์จากสิ่งรอบตัวไม่ใช่เพียงแต่ตัวเลข
      
       ความสำคัญ คณิตศาสตร์เป็นสาตร์วิชาที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิต เป็นการเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ เช่น การฝึกพูด ฝึกเขียน ฝึกใช้ระบบและวิธีการ ทำให้มนุษยเป็นผู้มีเหตุผล ละเอียด รอบคอบ มีไหวพริบปฏิภาณที่ดีขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้ถูกต้อง ตั้งแต่ระดับพื้นฐานให้กับคนในสังคมเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
       
      ประโยชน์ของคณิศาสตร์  คือ กระบวนการทางความคิดที่ต้องจัดตามความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความคิดและประสิทธิภาพ มีทั้งหมด 5 ทักษะ ดังนี้
      1.จำนวนและการดำเนินการ
      2.การวัด
      3.เลขาคณิต
      4.พีชคณิต
      5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
        
     แนวคิดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือ ทำให้เด็กเรียนรู้การจำแนกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะหรือขนาดของคณิตศาสตร์ ช่วยในการส่งเสริมการประกอบอาชีพต่างๆ ช่วยปลูกฝังและอบรมให้เด็กมีนิสัยละเอียด สุขุม และรอบคอบ

         

วิธีการสอน

      อาจารย์มีการใช้คำถาม เช่นให้นักศึกษายกตัวอย่างตัวเลขที่มีความสัมพันธ์กับเรา ใช้สื่อ power point ในการบรรยาย และใช้เกม หรือกิจกรรมที่หลากหลายในการสอน





การประยุกช์ใช้

ผู้สอน

     1. ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ในช่วงวัยแรกของเด็กและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
     3. จัดกิจกรรมโดยเน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง
     4. จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้ผ่อนคลาย ไม่เคร่งเครียด ให้เด็กมีอารมณ์ จิตใจที่ดี





ประเมิน

สภาพห้องเรียน

ห้องเรียนมีขนาดเล็ก เก้าอี้จึงเรียงชิดกันทำให้แถวด้านหลังไม่สามารถมองเห็นผู้สอนได้ และไม่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมดังกล่าว เนื่องจากต้องจัดเก้าอี้ในลักษณะวงกลมหันหน้าเข้าหากัน ทำให้เก้าอี้ชิดกันมากยากต่อการเคลื่อนย้าย

ตนเอง

เข้าชั้นเรียนตรงเวลา ทำงานเสร็จทันตามเวลาที่กำหนด ตอบคำถามอาจารย์ผู้สอน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

เพื่อน
 รับผืดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความสนใจและตั้งใจเรียน

อาจารย์
อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ และเข้าสอนตรงเวลา



*หมายเหตู* คัดลอกจากนางสาววราภรณ์ แทนคำ เนื่องจากป่วยเข้าโรงพยาบาล





สรุปบทความ
                        เรื่อง คณิตศาสตร์คืออะไร คำถามง่ายๆที่ตอบยาก

จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำว่า "คณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับโครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์ สัญลักษณ์และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ โดยทั่วไเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมืออันหนึ่งของวิทยาศาสตร์
            









                                                                            




 "คณิตศาสตร์" คืออะไร คำถามง่ายๆ ที่ตอบยาก..

"คณิตศาสตร์" คืออะไร คำถามง่ายๆ ที่ตอบยาก.."คณิตศาสตร์" คืออะไร คำถามง่ายๆ ที่ตอบยาก..

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 1 วันศุกร์ที่ 9 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

องค์ความรู้

=> อาจารย์แนะนำรายละเอียดของรายวิชา และแนวการสอน
=> อาจารย์แนะแนวทางการเขียนอนุทินเพื่อบันทึกหลังการเรียน
=> อาจารย์ประเมินความรู้ก่อนเรียน โดยให้นักศึกษาใช้ความรู้เดิมเขียนแผนที่ทางความคิด 
=> พัฒนาการของเด็กปฐมวัย มี 4 ด้าน ประกอบด้วย 
            1. ด้านร่างกาย
            2. ด้านอารมณ์ จิตใจ
            3. ด้านสังคม
            และ4. ด้านสติปัญญา
=> กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF)
          สกอ ได้กำหนดไว้ 6 ด้าน ดังนี้
              1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม
              2. ด้านความรู้
              3. ด้านทักษะทางปัญญา
              4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ
              5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
              และ6. ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
=> มาตรฐาน = เกณฑ์ขั้นต่ำ



ทักษะ


         เขียนแผนผังความคิด My mapping เรื่องการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาศัยองค์ความรู้เดิมในการเขียน



แผนภูมิความคิด

วิธีการสอน

      อาจารย์มีการใช้คำถาม เช่นมาตรฐานคืออะไร แนวการสอนมีไว้เพื่ออะไร พัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีกี่ด้าน หน่วยงานใดเป็นผู้กำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มคอ. และอาจารย์ใช้วิธีการประเมินก่อนเรียนโดยให้นักศึกษาแสดงความรู้เดิมเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในรูปแบบแผนผังความคิด





การประยุกช์ใช้

ผู้สอน

     1. ควรจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลายอย่างสม่ำเสมอ
     2. กิจกรรมที่จัดควรส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน แบบองค์รวม

ตนเอง

     1. จดบันทึกย่อในรูปแบบแผนภูมิต้นไม้ หรือแผนภูมิความคิด
     2. แต่งกายเรียบร้อย เหมาะสมตามกฎระเบียบ
     3. แสวงหาความรู้อยู่เสมอ
     4. วางแผนและจัดทำตารางกิจวัตรประจำวัน
     5. ใช้สื่อเพาเวอร์พอย์ในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
     6. กำหนดเป้าหมายในรายวิชา และประเมินผล
  



ประเมิน

สภาพห้องเรียน

อุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีไม่พร้อม คือ ขาดเครื่องโปรเจคเตอร์ ห้องเรียนสะอาด เรียบร้อย มีเก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา และมีสภาพอุณภูมิที่พอเหมาะไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป

ตนเอง

ตั้งใจ และสนใจอาจารย์แนะแนว บรรยายอธิบาย ซักถาม มีสมาธิระหว่างเรียน

เพื่อน
เพื่อนๆในชั้นเรียนตั้งใจเรียน และมีการตอบคำถามอาจารย์

อาจารย์
อาจารย์พูดเสียงดัง ชัดเจน เป็นกันเอง สนุกสนานทำให้มีความสุขเวลาเรียน มีการกำหนดเวลาส่งบล็อกชัดเจน อย่างเป็นระยะทำให้นักศึกษามีความรับผิดชอบ กระตือรือร้น และมีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น



*หมายเหตู*  คัดลอก จากนางสาววราภรณ์  แทนคำ เนื่องจาก ป่วยเข้าโรงพยาบาล