วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่5 วันศุกร์ที่ 6 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน



ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
      เรียนเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐาน ในชั้นปฐมศึกษา เน้นลงมือกระทำ จับต้องได้เป็นรูปธรรม ซึ่งการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนนั้น อาจจัดเป็นโมเดลการศึกษา หรือ ให้เด็กนำวัสดุ สื่อ การเรียนมาเอง และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
    มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ Mathematial Thingiking
- นับ 1-20
- เข้าใจหลักการนับ
- รู้จักเลขฮินดูอารบิก-เลขไทย
- รู้ค่าของจำนวน
- การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ
-  การรวมและการแยกกลุ่ม

สาระที่ 2  : การวัด
     มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน เวลา
- การเปรียบเทียบ เรียงลำดับความยาว ปริมาตร
- รู้จักเหรียญและธนบัตร
- รู้ค่าของจำนวน
- รู้จักเกียวกับเวลาและคำใช้บอกเวลา
*** ตัวอย่างการเรียนรู้***
 อาจารย์ให้ผู้เรียนหาความยาวของจอโปรเจกเตอร์ ประตู และ หน้าต่าง โดยวิธีการใดก็ได้

สาระที่ 3 : เรขาคณิต
     มีความเข้าใจทางเรขาคณิต
- ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
- รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ

สาระที่ 4 : พีชคณิต
     เข้าใจรูปแบบความสัมพันธ์

สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
     มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
- รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง
- การนำเสนอข้อมูล

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวรการทางคณิตศาสตร์
     การสอดแทรกทักษะและกระบวรการคิดทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็นตามความเหมาะสม
- การแก้ปัญหา
- การใช้เหตุผล
- การสื่อสารสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
- การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ

ทักษะ
 นำเสนอบทความ
โดย นางสาวชนากานต์ แสนสุข
สรุป
การประสบการณ์จัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การให้เด็กรู้คณิตศาสตร์จะทำให้เด็กมี้หตุผล เข้าใจ วิธีกระบารการคิดเพื่อ
- พัฒนาความคิดรวบยอด การบวก การลบ
- รู้กระบวรการหาคำตอบ เช่น การชั่งน้ำหนัก
- รู้จักคำศัพท์และสัญลักษณ์
- รู้จักการนับ การวัด
สามารถทำได้ตั้งแต่เด็ก ควรจัดประสบการณ์จัดการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสม

เพลง จัดแถว
  สองมือเราชูตรง          แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายไปข้างหน้า           แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

เพลง  ซ้าย-ขวา
    ยืนให้ตัวตรง         ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน          หันตัวไปทางนั้นแหละ

เพลง  นกกระจิบ
  นั่นนกบินมาลิบ ลิบ       นกกระจิบ 1 2 3 4 5 
                              อีกฝูงบินล่องลอยมา       6 7 8 9 10 ตัว

 ตารางแสดงการมาเรียนขอนักเรียนในห้องเรียน
จำนวนนักเรียนทั้งหมด


จำนวนนักเรียนที่มาเรียน


จำนวนนักเรียนที่มาเรียน และ ไม่มาเรียน

    การนำกิจกรรมไปประยุกต์ใช้
เนื่องด้วยตารางนั้นเป็นภาพ จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และจดจำได้ง่าย เพราะ เด็กในวัยนี้จะเกิดการเรียนรู้ได้เร็วจากภาพและสัญลักษณ์   สอนเด็กในเรื่องการนับ และ รู้จักการสังเกตุ อีกทั้งยังได้พัฒนาการทางด้านสังคมได้อีกด้วย



วิธีการสอน
 ถาม-ตอบ ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มีความสมบูรณ์ 
นำเสนอผ่านโปรแกรมMicrosoft Office Power Point  เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 
มีการสอนแบบเป็นรูปธรรม ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น


ประเมินสภาพในห้องเรียน
รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง 

ประเมิน
  ตนเอง -  ขาดความรับผิดชอบเนื่องด้วยไม่ได้นำป้ายชื่อไปเรียน เข้าเรียนตรงเวลา
  เพื่อน   -  มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เสนอความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  อาจารย์ - การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ มีกิจกรรมต่างๆให้ทำอย่างสนุกสนานและเข้าใจในเรื่องนั้นๆเพิ่มยิ่งขึ้น

หมายเหตุ* ศึกษาจากนางสาวรัตนาภรณ์ คงกะพันธ์ เนื่องจากป่วย*

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 4 วันที่ 28 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

 เนื้อหาที่เรียน

-วันนี้อาจารย์ให้เล่นเกมโดยใช้เกณฑ์ มาก่อน-มาหลัง เที่ยง โดยการเอาป้ายชื่อไปติดในแต่ละช่องที่เขียนไว้ข้างบนกระดาน
- อาจารย์แนะนำเทคนิคการนำเสนอหน้าชั้นเรียน คือ แนะนำตัว  การพูดให้ชัดเจน  เพิ่มเติมและแนะนำโทรทัศน์ครูที่เพื่อนนำเสนอ
         
                          - การนำเสนอหน้าชั้นเรียนของเพื่อนเลขที่ 7-9          

          เลขที่ 8 นำเสนอโทรทัศน์ครูเรื่อง ภาษาอังกฤษกับคณิตศาสตร์
                      สรุป การสอนคณิตศาสตร์กับภาษาอังกฤษ โดยการฝึกบวกเลข เช่นส้ม3+2=5 ผล จากสื่อและการฝึกทำสื่อ                           เด็กจะจดจำมากขึ้น
                       เลขที่ 9 นำเสนอเโทรทัศน์ครูรื่อง การสอนคณิตศาสตร์ อนุบาล2-3
                                               สรุป ใช้สื่อดึงดูดความสนใจของเด็กโดยการให้เด็กสัมผัสกับเลข3ให้เด็กได้รู้ว่าเลข3หน้าตา                                                 เป็นแบบนี้และเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก
                                     เลขที่ 7 นำเสนอโทรทัศน์ครูเรื่อง เลขรอบตัวเรา
                                  ใช้สัญลักษณ์ เช่นเครื่องหมายบวกลบ ใช้สิ่งที่จับต้องได้เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้
                    
ทักษะ
   
     -การเปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบคำถาม
การทำกิจกรรมเปรียบเทียบเวลา โดยการนำชื่อตัวเองไปติดหน้ากระดานว่ามาก่อนหรือหลัง เกณฑ์ในการ   ทำกิจกรรม คือ 12.00 น. 
-การใช้เกมตัวเลข เช่น 20 15 23 25 เลขอะไรที่ไม่เข้าพวก เพราะอะไร
-การตั้งคำถาม เช่นหนึ่งวันมีกี่ชั่วโมง
- ทดสอบก่อนเรียน
        
  

         

วิธีการสอน


      อาจารย์มีการใช้คำถาม เช่นให้นักศึกษายกตัวอย่างตัวเลขที่มีความสัมพันธ์กับเรา ใช้สื่อ power point ในการบรรยาย และใช้เกม หรือกิจกรรมที่หลากหลายในการสอน
 ประเมิน

สภาพห้องเรียน
ห้องเรียนมีขนาดเล็ก เก้าอี้จึงเรียงชิดกันทำให้คนที่นั่งอยู่ด้านหลังออกมาได้ยาก และไม่เอื้อต่อการทำจัดกิจกรรม เก้าอี้ชิดกันและจัดเป็นตัวยูยากต่อการเคลื่อนย้าย

ตนเอง
เข้าชั้นเรียนช้ากว่าเวลา 7นาที ตอบคำถามอาจารย์ผู้สอน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

เพื่อน
  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความสนใจและตั้งใจเรียน

อาจารย์
อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดเจนและเข้าสอนตรงเวลา